ประวัติวัดราชาธิวาสวิหารโดยสังเขป
****
วัดราชาธิวาสวิหาร
เดิมชื่อวัดสมอราย
เป็นวัดโบราณเก่าแก่มาก
สันนิษฐานกันว่า
สร้างสมัยครั้งกรุงละโว้
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้
ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์ตลอดมาทุกรัชกาล
ในรัชกาลที่
๑
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาททรงปฏิสังขรณ์และพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงอุปสมบทแล้วเสด็จมาประทับที่วัดนี้
เมื่อทรงดำรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนเสนานุรักษ์
ทรงผนวชแล้วเด็จมาประทับที่วัดนี้เอง
ซึ่งต่อมาภายหลังได้เป็นสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดี
พระเจ้ากรุงกัมพูชา
ทรงเป็นหางนาค
และโดยเสด็จมาประทับที่วัดนี้ด้วย
ในรัชกาล
๒ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้ามหามงกุฏ
ทรงอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว
และเสด็จมาประทับอยู่ที่วัดนี้
๑๒ พรรษา คือทรงผนวชเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๒
และเสด็จไปครองวัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๙ ในรัชการที่ ๓
ในรัชการที่
๓ นี้
กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์
รับสั่งให้ปลูกพระตำหนักช่อฟ้าใบระกา
๕ ห้อง มีเฉลียงรอบถวายสมเด็จฯ
เจ้าฟ้างมหามงกุฏ
ซึ่งยังทรงสมณเพศอยู่ไว้เป็นที่ประทับ
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒
ในรัชกาลนี้ได้มีการปฏิสังขรณ์หลายอย่าง
และในรัชกาลที่ ๔
ก็มีการปฏิสังขรณ์ต่อมา
ในรัชกาลที่ ๔
ทรงพระราชทานนามวัดว่า
วัดราชาธิวาส เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๔
ในรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
ฯ ให้รื้อสร้างใหม่หมดทั้งวัด
ที่ปรากฏอยู่ คือ พระอุโบสถ
พระเจดีย์ ศาลาการเปรียญ
กุฎีไม้ทาสีแดงและหอสวดมนต์
ถนนหิน ลานหิน ภูเขา เสาหิน
เขื่อนคู
ถนนผ่านกลางวัดทั้งสะพาน
หล่อพระประธานประดิษฐานในพระอุโบสถ
พระราชทานนิตยภัตพระสงฆ์ ๓๐ รูป
ในรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
ฯ
ให้เขียนภาพเวสสันดรชาดกที่ฝาผนังในพระอุโบสถ
สร้างพระวิหารสมเด็จพระอัยยิกา
กุฎีเจ้าอาวาส ฯลฯ
ในรัชกาลที่ ๗ ทรงพระราชทานพระตำหนักพญาไทมาประดิษฐานไว้ในวัด
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
สมเด็จพระบรมราชินี
ทรงพระราชทานกุฎีตึก ๓ แถวคณะบน
และได้พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ประการอื่น
ๆ เหมือสมัยรัชกาลก่อน
ในรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลปัจจุบันก็ยังคงได้รับพระบรมราชูปถัมภ์เหมือนรัชกาลก่อน
ๆ เช่น นิตยภัตพระสงฆ์ ค่าไฟฟ้า
ค่าน้ำประปา
เงินเดือนคนทำงานวัด เป็นต้น
หมายเหตุ : - ผู้สนใจควรอ่านพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่องวัดสมอราย
อันมีนามว่า ราชาธิวาส
สิ่งที่ควรทราบ
๑. พระอุโบสถ ทรงแบบขอม สมเด็จ ฯ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
ทรงออกแบบสร้างในรัชกาลที่ ๕
พระประธานองค์ข้างหน้า นามว่า พระสัมพุทธพรรณี
หล่อที่ วัดราชาธิวาส เมื่อ ๙
ตุลาคม ๒๔๘๑
พระประธานห้องหลัง นามว่าพระสัมพุทธวัฒโนภาส
เป็นพระปูนปั้นฝีมือเก่า
ภาพฝาผนัง เรื่องเวสสันดรชาดก
ออกแบบโดยสมเด็จ ฯ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
เขียนโดยศาสตราจารย์ชาวอิตาเลียน
ฝีมือเดียวกับพระที่นั่งอนันตสมาคม
และเขียนในเวลาใกล้เคียงกัน
๒.
พระเจดีย์
ทรงชวาในสมัยศรีวิชัย
สร้างในรัชกาลที่ ๕
มีพระพุทธรูปหินสมัยศรีวิชัย
ซึ่งนำมาจากประเทศชวาประดิษฐานบนซุ้มพระเจดีย์
ทั้ง ๔ ทิศ
๓.
พระวิหาร ซึ่งอยู่ติดกับพระเจดีย์สร้างในรัชกาลที่
๖ ประดิษฐานพระพุทธรูป
ซึ่งคิดแบบอย่างขึ้นใหม่ในรัชกาลนี้
เรียกว่า พระพุทธรูปแบบกรุงรัตนโกสินทร์
รัชกาลที่ ๖
๔.
ศาลาการเปรียญ สร้างขึ้นในรัชกาลที่
๕ ทำด้วยไม้สักทั้งหลัง
นับถือกันว่า
เป็นอาคารไม้ที่สวยงามและขนาดโตที่สุดในตะวันออกไกล
ออกแบบโดยสมเด็จ ฯ
กรมพระยานริศร์ ฯ เหมือนกัน
๕.
พระตำหนักพระจอมเกล้า ฯ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์
ให้สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
ฯ
ครั้งยังทรงผนวชและประทับอยู่ที่วัดราชาธิวาสวิหาร
เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒
เป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดในวัดนี้
ได้ย้ายที่และปฏิสังขรณ์มาหลายครั้ง
๖.
แท่นพระร่วงจำลอง อยู่ข้างต้นโพธิ
หน้าพระตำหนักสี่ฤดู
๗.หลวงพ่อนาค พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประวัติอยู่ที่ศาลาวีระสุนทร
คณะเหนือ เรียกกันทั่วไปว่า
ศาลาหลวงพ่อนาค
๘.
วัดนี้มีเจ้าอาวาส มาแล้วคือ
ก่อนมีคณะธรรมยุต
นับแต่เริ่มกรุงรัตนโกสินทร์
๑. พระปัญญาพิศาลเถร (นาค)
๒.พระปัญญาพิศาลเถร (ศรี)
๓. พระธรรมวิโรจน์ (คง)
๔. พระธรรมวิโรจน์ (นก)
๕. พระภาวนาภิราม (รอด)
เจ้าอาวาสเมื่อเป็นธรรมยุตแล้ว
๑. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เขียว
จนฺทสิริ ป.ธ. ๘)
๒.พระราชเมธี (จาบ เขมโก ป.ธ. ๗)
๓. พระธรรมวโรดม (เซ่ง อุตฺตโม ป.ธ.
๕)
๔. พระศาสนโสภณ (ปลอด อตฺถการี ป.ธ.
๙)
๕. พระสุธรรมาธิบดี (เพิ่ม อาภาโค
ป.ธ. ๙) เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ.
๒๕๐๖ - ๒๕๔๒
๖. พระธรรมกวี (ลือชัย คุณวุฑฺโฒ
ป.ธ. ๗) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒
ถึงปัจจุบัน